การคลอดธรรมชาติและผ่าตัดคลอด วิธีไหนเหมาะกับเรา?
การคลอดธรรมชาติและผ่าตัดคลอดแตกต่างกันอย่างไร
สำหรับคุณแม่ทุกท่านที่อาจกำลังเกิดคำถามในใจ ว่าสุดท้ายแล้วควรจะเลือกวิธีการคลอดแบบไหนให้เหมาะกับตนเอง วันนี้ โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล ขอนำข้อเปรียบเทียบของการคลอดในรูปแบบต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจค่ะ
การคลอดแบบธรรมชาติเหมาะกับใคร?
การคลอดธรรมชาติ คือ การคลอดลูกเองโดยไม่ใช้การผ่าตัด จะมีทั้งการคลอดธรรมชาติแบบทั่วไป และแบบคลอดในน้ำ
-
การคลอดแบบทั่วไปจะเหมาะกับคุณแม่ที่ไม่มีความเสี่ยง มีสุขภาพที่สมบูรณ์ และมีภาวะแทรกซ้อนน้อยในขณะตั้งครรภ์ โดยแผลที่เกิดจากการคลอดธรรมชาติจะมีขนาดเล็ก และสมานตัวได้เร็วกว่าแผลผ่าตัดคลอด โอกาสที่จะติดเชื้อหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดก็น้อยกว่า รวมทั้งการฟื้นตัวก็จะเร็วกว่า ส่งผลให้หลังคลอด คุณแม่จะเจ็บหรือปวดบริเวณแผลคลอดเพียงไม่มาก สามารถเคลื่อนไหวร่างกายหรือขยับตัวหลังคลอดได้อย่างคล่องตัวแทบจะทันที ไม่ว่าพลิกตัว จะลุก จะนั่ง หรือจะเดิน ก็ทำได้สะดวก
-
การคลอดธรรมชาติ แบบคลอดในน้ำ จะไม่แนะนำกับคุณแม่ที่มีโรคติดต่อ ติดเชื้อ ความดันสูง ครรภ์เป็นพิษตั้งครรภ์ลูกแฝดมีประวัติคลอดยากหรือคลอดก่อนกำหนด รวมไปถึงทารกที่มีน้ำหนักตัวมาก ตัวใหญ่และไม่อยู่ในท่าคลอดปกติ
-
ผ่าตัดคลอด เป็นวิธีที่เหมาะกับคุณแม่ที่ไม่สามารถคลอดเองได้ตามธรรมชาติ ภาวะครรภ์ไม่ปกติ หรือมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น สายสะดือย้อย รกต่ำกว่าปกติ รกลอกตัวก่อนกำหนด เด็กท่าก้นหรือไม่กลับหัว เด็กตัวโต อุ้งเชิงกรานมารดาแคบ ทารกมีความพิการที่ไม่สามารถคลอดเองได้ ปากมดลูกไม่เปิดหรือเปิดช้า หรือทารกมีภาวะหัวใจเต้นช้า เป็นต้น ซึ่งการผ่าตัดคลอดจะใช้ระยะเวลาในการคลอดสั้นกว่าการคลอดธรรมชาติ และมีขนาดแผลหรือรอยแผลเป็นที่ต่างกับการคลอดธรรมชาติ อีกทั้งการผ่าตัดคลอดจะลดความเสี่ยงเรื่องหัวใจทารกเต้นผิดปกติในช่วงรอคลอดได้ ซึ่งพบได้จากหลายสาเหตุ เช่น สายสะดือโดนกดทับหลังจากการมีน้ำเดิน ออกซิเจนในเลือดของเด็กต่ำ โดยมักพบในทารกที่มีน้ำหนักเกินกำหนดหรือมีภาวะรกเสื่อม แต่คุณแม่ที่ใช้วิธีผ่าตัดคลอด หลังจากที่คลอดแล้วจะต้องดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้แผลหลังผ่าตัดคลอดเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อได้
- ร่างกายฟื้นตัวเร็ว
- เสียเลือดน้อยกว่าผ่าคลอด
- หลังคลอดมดลูกหดตัวเล็กลง
- ไม่มีแผลผ่าตัด และแผลที่มดลูก
- หุ่นเข้าที่เร็วกว่าผ่าคลอด
- ทารกมีภูมิคุ้มกันที่ดีจากแบคทีเรียชนิดดีในช่องคลอด
- ทารกได้รับการบีบของเหลวออกจากปอดขณะคลอด
- ร่างกายฟื้นตัวเร็ว
- น้ำอุ่นเพิ่มความรู้สึกผ่อนคลายและลดความเจ็บปวด
- การเตรียมความพร้อมให้คุณแม่อาจไม่ต้องใช้ยาแก้ปวดหรือยาชา
- ช่วยเร่งให้คลอดได้ไวและง่ายขึ้น
- น้ำอุ่นช่วยให้กระบวนการไหลเวียนของเลือดในมดลูกดีขึ้น
- ลดโอกาสการเกิดแผลฉีกขาดรุนแรงของปากมดลูก
- ไม่ต้องรอเจ็บท้องนาน
- ไม่เสี่ยงภาวะแทรกซ้อนระหว่างรอคลอด
- ไม่เจ็บระหว่างทำคลอด
- สามารถกำหนดวันเวลาคลอดได้
- หากสภาวะครรภ์มีความเสี่ยงจะช่วยให้ปลอดภัยได้ดีกว่าคลอดแบบธรรมชาติ
- สามารถทำหมันได้เลย
ดูแลตนเองหลังการคลอด
หลังการคลอดในช่วงแรก คุณแม่จะพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาล จะต้องงดน้ำและอาหารประมาณ 12 – 24 ชั่วโมงแรกหลังได้เข้ารับการผ่าตัดแล้ว วันถัดมาถึงสามารถดื่ม หรือรับประทานอาหารเหลว และอาหารอ่อนได้ตามลำดับ ถัดจากนั้น จึงสามารถรับประทานอาหารปกติได้ หรืออาจพึ่งพาวิธีการช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายของคุณแม่หลังคลอด เพื่อปรับสมดุลเลือดลมในร่างกายให้กลับมาปกติให้เร็วที่สุด เช่น การอยู่ไฟ คุณแม่หลังคลอดสามารถออกกำลังกายเบาๆ ได้ เช่น เดิน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ
วิธีการคลอดมี 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ การคลอดแบบธรรมชาติ และการคลอดด้วยวิธีผ่าตัด การที่จะเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งได้นั้น จำเป็นต้องผ่านการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทางเสียก่อน โดยปกติแล้วจะใช้เวลาในการตั้งครรภ์ทั้งหมด 40 สัปดาห์ นับจากประจำเดือนครั้งสุดท้าย แบ่งออกเป็น 3 ไตรมาสคือ ไตรมาสแรกคือ 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 2 คือ 12 - 28 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ซึ่งถือว่าครบกำหนดตั้งแต่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์เป็นต้นไป คุณแม่ 70 - 80% อาจมีอาการเจ็บท้องคลอดในระยะนี้ และควรรีบมาพบแพทย์เมื่อมีอาการ ซึ่งควรเตรียมการตั้งแต่การตั้งครรภ์เข้าสู่ไตรมาสที่ 3 เพื่อพิจารณาเลือกวิธีการคลอดที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับคุณแม่เป็นรายบุคคล
สนับสนุนข้อมูลโดย : พญ.กมลพร เชาว์วิวัฒน์กุล แพทย์เฉพาะทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
ศูนย์การแพทย์ : ศูนย์สตรี
โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 1745 ต่อ ศูนย์สตรี